โดยไม่ได้กล่าวถึงทฤษฎีการหล่อปูนเพื่อผลิตหินแต่ละก้อน
ผู้สนใจทฤษฎีการหล่อปูน อาจเริ่มจากบทความเหา หมา กอริลล่อย(1)
เขียนโดย คุณแทนไท ประเสริฐกุลในโอเพ่นออนไลน์
มีใครเคยสงสัยไหมครับว่า คนอียิปต์โบราณนั้นท่านสร้างพีระมิดขึ้นมาได้ยังไง?
เรื่องนี้คนที่เชื่อว่ามนุษย์ต่างดาวมีจริง และเคยมาทิ้งเชื้ออารยธรรมให้กับโลกในแนว“พระเจ้าจากอวกาศ” ก็อาจจะอธิบายง่ายๆ ว่า มนุษย์ต่างดาวนี่แหละที่ยกหินขึ้นไปเรียงทีละก้อนๆ ด้วยพลังมหัศจรรย์!
การ์ตูนล้อแนวคิดที่ว่ามนุษย์ต่างดาวสร้างพีระมิดโดยใช้พลังวิเศษยกหินไปจัดเรียงทีละก้อน
แต่อย่าได้ประมาทมันสมองและฝีมือคนอียิปต์โบราณไปเชียวเพราะคนอียิปต์นี่แหละที่มีความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ อย่างน่าทึ่ง เช่น การทำมัมมี่ และการประดิษฐ์ภาษาเฮียโรกลีฟิกส์ซึ่งมีอิทธิพลต่อภาษาต่างๆ อีกจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ภาษาอังกฤษดังที่เคยเล่าให้ฟังไปแล้วในเรื่องถอดรหัส อักษรภาพไอยคุปต์
หินแต่ละก้อนที่ใช้สร้างพีระมิดหนักหลายตัน
เนื่องจากก้อนหินแต่ละก้อนที่ใช้สร้างพีระมิดหนักเป็นตันๆ อย่างก้อนหินที่ใช้สร้างมหาพีระมิดของฟาโรห์คูฟูนั้นเป็นหินปูน ก้อนเล็กที่สุดก็ปาเข้าไปตั้ง 2 ตัน ส่วนก้อนใหญ่ที่สุดหนักราวๆ 13 ตันดังนั้นหากเชื่อว่าคนอียิปต์สร้างเอง ก็ต้องอธิบายให้ได้ว่าก้อนหินแต่ละก้อนนั้นเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ ได้ยังไง
การใช้ทางลาดแบบตรงๆ
มีผู้เสนอว่า น่าจะมีการใช้ทางลาดเพื่อลำเลียงก้อนหินเข้าทางด้านข้างของพีระมิด โดยแต่ละด้านก็ใช้ทางลาดแยกกันไป ทั้งนี้เมื่อพีระมิดสูงขึ้น ก็ต้องสร้างทางลาดให้ยาวขึ้นและมีฐานกว้างมากขึ้น ไม่งั้นก็จะกลายเป็นทางชันไปซะนี่!
การใช้ทางลาดแบบบันไดเวียนรอบ
อีกคนก็บอกว่า งั้นก็ปรับปรุงทางลาดซะใหม่ ทำเป็นทางเวียนไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ(คล้ายๆ กับบันไดขึ้นภูเขาทองที่วัดสระเกศ)ทางลาดบันไดเวียนแบบนี้มีคนชอบใจเยอะเหมือนกัน โดยบางคนเสนอว่าให้ราดน้ำลงไปที่พื้นจะได้ลื่นๆ เข็นก้อนหินง่ายขึ้นส่วนบางคนก็เสนอเครื่องมือซับซ้อน ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
ทฤษฎีการลากหินขึ้นทางลาดโดยไม่ใช้ล้อ
ทฤษฎีการเคลื่อนก้อนหินไปทีละกระดึ๊บ
หินแต่ละก้อนที่อยู่ด้านล่างของพีระมิดย่อมโดนแรงกดทับมหาศาล แต่ภายในโครงสร้างยังต้องมีทางเดิน มีห้องหับเก็บรักษาสิ่งของต่างๆ อีกด้วย เรื่องนี้วิศวกรโบราณที่ชาญฉลาดได้ออกแบบให้ภายในพีระมิดมีผนังรับน้ำหนัก โดยผนังที่ว่านี้มีความสูงลดหลั่นกันลงไปจากศูนย์กลางไปถึงด้านนอกสำหรับแนวคิดที่ว่า คนอียิปต์อาจใช้ปั้นจั่น (คล้ายๆ กับปั้นจั่นที่ใช้ในการสร้างตึกสูง) เพื่อยกก้อนหินขึ้น โดยอีกฝั่งหนึ่งถ่วงด้วยก้อนหินหนักๆ นั้นไม่มีใครเชื่อ เนื่องจากอียิปต์โบราณไม่น่าจะมีไม้ที่แข็งแรงพอที่สามารถรับน้ำหนักของหินแต่ละก้อนได้
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือแกนกลางของพีระมิดที่ดูประหนึ่งมีผิวนอกค่อนข้างเรียบนั้น แท้จริงแล้วเป็นพีระมิดแบบขั้นบันไดทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักอยู่นั่นเอง
ไส้ในของพีระมิดเป็นพีระมิดแบบขั้นบันได
อีกเรื่องหนึ่งที่มีคนเชื่อกันมากก็คือ อียิปต์ใช้แรงงานทาสในการสร้างพีระมิด อย่างในหนังบางเรื่องจะเห็นผู้คุมลงแส้กับทาสที่ทำงานช้า
คนงานกำลังสร้างพีระมิด
อย่างไรก็ดีเรื่องการใช้แรงงานทาสนี่ผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันบอกว่าไม่น่าจะใช่แต่ที่เป็นไปได้มากกว่าก็คือ แรงงานนับหมื่นนับแสน ที่สร้างพีระมิดนี้อาจจะเป็นพวกชาวไร่ชาวนาที่ถูกว่าจ้างมา เพราะในฤดูร้อนน้ำจะท่วมไร่นา ทำให้ไม่มีงานทำ มารับจ้างขนหินสร้างพีระมิดเอาตังค์ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ว่างั้นเหอะ! ;-)มีแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ คนอียิปต์อาจรอใช้ช่วงน้ำท่วมให้เป็นประโยชน์ในการขนย้ายก้อนหิน ลองดูภาพเคลื่อนไหวต่อไปนี้สิครับ
ภาพแสดงการใช้ช่วงน้ำหลากให้เป็นประโยชน์ ตามแนวคิดของ Andrzej Bochnacki
ได้ฟังทฤษฎีของคนอื่นไปกันพอสมควรแล้ว....