มีผู้สนใจเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองเรา แต่อาจขาดข้อมูลตัวเลขซึ่งอยู่ในที่เดียวกันที่จะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น วันนี้ขอนำเสนอตัวเลขสำคัญเหล่านั้น
ขอเริ่มที่ตัวเลขล่าสุดของขนาดโรงเรียนซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของบ้านเรา จำนวนโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งหมดมี 31,508 โรงเรียน (ประถม 29,054 มัธยม 2,361 ศึกษาสงเคราะห์ 50 และศึกษาพิเศษ 43)
ขนาดของโรงเรียนมีดังนี้ จำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน มีอยู่ 14,397 โรง (ร้อยละ 46) ถ้าดูย่อยลงไปก็พบว่าโรงเรียนที่ปัจจุบันไม่มีนักเรียนแล้ว 137 โรง โรงเรียนที่มีนักเรียน 1-20 คน มีจำนวน 444 โรง นักเรียน 21-40 คน 1,967 โรง นักเรียน 41-60 คน 3,082 โรง นักเรียน 61-80 คน 3,355 โรง นักเรียน 81-100 คน 3,040 โรง และนักเรียน 101-120 คน 2,372 โรง
เหตุที่บ้านเรามีจำนวนโรงเรียนมากมายขนาดนี้ก็เพราะในสมัยก่อนนักเรียนอยู่ในที่กันดาร เด็กต้องเดินเท้ากันไกลจึงต้องเปิดโรงเรียนจำนวนมาก อย่างไรก็ดี เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น "ถนนดำ" ไปถึงกันทั่ว
ขอเริ่มที่ตัวเลขล่าสุดของขนาดโรงเรียนซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของบ้านเรา จำนวนโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งหมดมี 31,508 โรงเรียน (ประถม 29,054 มัธยม 2,361 ศึกษาสงเคราะห์ 50 และศึกษาพิเศษ 43)
ขนาดของโรงเรียนมีดังนี้ จำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน มีอยู่ 14,397 โรง (ร้อยละ 46) ถ้าดูย่อยลงไปก็พบว่าโรงเรียนที่ปัจจุบันไม่มีนักเรียนแล้ว 137 โรง โรงเรียนที่มีนักเรียน 1-20 คน มีจำนวน 444 โรง นักเรียน 21-40 คน 1,967 โรง นักเรียน 41-60 คน 3,082 โรง นักเรียน 61-80 คน 3,355 โรง นักเรียน 81-100 คน 3,040 โรง และนักเรียน 101-120 คน 2,372 โรง
เหตุที่บ้านเรามีจำนวนโรงเรียนมากมายขนาดนี้ก็เพราะในสมัยก่อนนักเรียนอยู่ในที่กันดาร เด็กต้องเดินเท้ากันไกลจึงต้องเปิดโรงเรียนจำนวนมาก อย่างไรก็ดี เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น "ถนนดำ" ไปถึงกันทั่ว
แต่โรงเรียนเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ไม่มีการยุบรวมตามที่ควรก็เพราะเป็นความภูมิใจของชาวบ้าน และหากยุบไปผู้อำนวยการโรงเรียนก็ไม่มีตำแหน่ง อย่างไรก็ดี มันทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเป็นอันมากทั้งจำนวนครู (ปกติแต่ละโรงเรียนควรมีครูครบทั้ง 8 คนตาม 8 สาระการเรียนรู้) การนิเทศ การดูแลกำกับ ค่าดูแลรักษา ฯลฯ
สำหรับโรงเรียนเล็กนั้นถ้ามีชุมชนเข้มแข็ง มีผู้อำนวยการเก่ง มีองค์กรปกครองท้องถิ่นสนับสนุน ฯลฯ ก็จะเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพได้ แต่โดยทั่วไปมีปัญหาด้านคุณภาพจนเป็นตัวฉุดให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของเด็กทั้งประเทศต่ำลง
ในปีงบประมาณ 2553 รัฐจ่ายเงินด้านการศึกษาสูงสุดคือประมาณ 400,000 ล้านบาท (ร้อยละ 23.7 ของงบประมาณทั้งหมด) ในจำนวนนี้ร้อยละ 75.5 จ่ายให้โรงเรียนระดับก่อนประถม ประถม และมัธยมศึกษา
คราวนี้มาดูจำนวนนักเรียนกันบ้าง ในปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นสถิติล่าสุด ทั้งประเทศมีนักเรียนและนักศึกษารวมกันประมาณ 15 ล้านคน เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12.6 ล้านคน (2.7 ล้านคนก่อนประถม 5.2 ประถม 4.7 มัธยม) อุดมศึกษา 2.4 ล้านคน (อนุปริญญา 0.4 ล้านคน ปริญญาตรี 1.8 ปริญญาโท 0.2 ปริญญาเอก .02 ล้านคน)
ตัวเลขที่น่าสนใจมากก็คือในจำนวนเด็ก 100 คน ที่เข้าเรียนประถมหนึ่ง ในปีการศึกษา 2541 เมื่อเรียน ม.1 จะเหลือ 85.6 คน เมื่อเรียน ม.3 จะเหลือ 79.6 คน เมื่อเรียน ม.4 และ ปวช. ปี 1 จะเหลือ 68.4 คน เมื่อเรียน ม.6 และ ปวช.ปี 3 จะเหลือเพียง 54.8 คน
ตัวเลขนี้แสดงว่าจากเด็ก 100 คน ที่เข้าเรียนแต่แรกจะเหลือเมื่อเรียนปีสุดท้ายของการเรียน 12 ปี เพียง 54.8 คนที่เหลือ 45.2 คน หายหกตกหล่นระหว่างช่วง 12 ปี ของการเรียนหนังสือขั้นพื้นฐาน
สำหรับจำนวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2552 รวมทั้งหมด 2,398,454 คนนั้น อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 1,733,443 คน ซึ่งประกอบด้วยสถาบันของรัฐจำกัดรับ (ทบวงเดิม) 316,345 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 485,880 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 155,046 คน มหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ 508,701 คน มหาวิทยาลัยในกำกับ 224,802 คน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 29,134 คน (อย่าตกใจครับ ในจำนวนนี้มีนักศึกษาหญิง 7,907 คน มีการสอนปริญญาตรีและโทหลากหลายด้านที่ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา) วิทยาลัยชุมชน 13,535 คน (19 แห่ง) ส่วนสุดท้ายคือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีนักศึกษา 303,790 คน
ส่วนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เช่น โรงเรียนอาชีวะที่สูงกว่า ปวช.ของเอกชน) 122,447 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา 225,097 คน (ประมาณกว่าร้อยละ 60 เรียนพาณิชย์ระดับ ปวส.)
ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมมีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ของกรมศิลปากร รวม 2,988 คน สถาบันการพลศึกษาในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยว 10,568 คน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 121 คน
สำหรับโรงเรียนเล็กนั้นถ้ามีชุมชนเข้มแข็ง มีผู้อำนวยการเก่ง มีองค์กรปกครองท้องถิ่นสนับสนุน ฯลฯ ก็จะเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพได้ แต่โดยทั่วไปมีปัญหาด้านคุณภาพจนเป็นตัวฉุดให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของเด็กทั้งประเทศต่ำลง
ในปีงบประมาณ 2553 รัฐจ่ายเงินด้านการศึกษาสูงสุดคือประมาณ 400,000 ล้านบาท (ร้อยละ 23.7 ของงบประมาณทั้งหมด) ในจำนวนนี้ร้อยละ 75.5 จ่ายให้โรงเรียนระดับก่อนประถม ประถม และมัธยมศึกษา
คราวนี้มาดูจำนวนนักเรียนกันบ้าง ในปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นสถิติล่าสุด ทั้งประเทศมีนักเรียนและนักศึกษารวมกันประมาณ 15 ล้านคน เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12.6 ล้านคน (2.7 ล้านคนก่อนประถม 5.2 ประถม 4.7 มัธยม) อุดมศึกษา 2.4 ล้านคน (อนุปริญญา 0.4 ล้านคน ปริญญาตรี 1.8 ปริญญาโท 0.2 ปริญญาเอก .02 ล้านคน)
ตัวเลขที่น่าสนใจมากก็คือในจำนวนเด็ก 100 คน ที่เข้าเรียนประถมหนึ่ง ในปีการศึกษา 2541 เมื่อเรียน ม.1 จะเหลือ 85.6 คน เมื่อเรียน ม.3 จะเหลือ 79.6 คน เมื่อเรียน ม.4 และ ปวช. ปี 1 จะเหลือ 68.4 คน เมื่อเรียน ม.6 และ ปวช.ปี 3 จะเหลือเพียง 54.8 คน
ตัวเลขนี้แสดงว่าจากเด็ก 100 คน ที่เข้าเรียนแต่แรกจะเหลือเมื่อเรียนปีสุดท้ายของการเรียน 12 ปี เพียง 54.8 คนที่เหลือ 45.2 คน หายหกตกหล่นระหว่างช่วง 12 ปี ของการเรียนหนังสือขั้นพื้นฐาน
สำหรับจำนวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2552 รวมทั้งหมด 2,398,454 คนนั้น อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 1,733,443 คน ซึ่งประกอบด้วยสถาบันของรัฐจำกัดรับ (ทบวงเดิม) 316,345 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 485,880 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 155,046 คน มหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ 508,701 คน มหาวิทยาลัยในกำกับ 224,802 คน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 29,134 คน (อย่าตกใจครับ ในจำนวนนี้มีนักศึกษาหญิง 7,907 คน มีการสอนปริญญาตรีและโทหลากหลายด้านที่ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา) วิทยาลัยชุมชน 13,535 คน (19 แห่ง) ส่วนสุดท้ายคือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีนักศึกษา 303,790 คน
ส่วนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เช่น โรงเรียนอาชีวะที่สูงกว่า ปวช.ของเอกชน) 122,447 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา 225,097 คน (ประมาณกว่าร้อยละ 60 เรียนพาณิชย์ระดับ ปวส.)
ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมมีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ของกรมศิลปากร รวม 2,988 คน สถาบันการพลศึกษาในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยว 10,568 คน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 121 คน
รวมทุกกระทรวงแล้วมี 2,398,454 คน
ในปีการศึกษา 2551 มีผู้สำเร็จการศึกษาอุดมศึกษา รวม 532,870 คน โดยจบต่ำกว่าปริญญาตรี (ปวส. อนุปริญญา) 143,041 คน ปริญญาตรี 311,377 คน และสูงกว่าปริญญาตรี 78,452 คน (ปริญญาเอก 1,641 คน ปริญญาโท 57,324 คน และประกาศนียบัตรบัณฑิต 19,487 คน)
สำหรับผู้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2552 ตัวเลขมีดังนี้ เข้าเรียนทั้งหมด 875,797 คน โดยเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 593,301 คน ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยจำกัดรับ (ทบวงเดิม) 101,916 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 178,136 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 56,608 มหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ 167,552 มหาวิทยาลัยในกำกับ 70,795 คน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 11,338 วิทยาลัยชุมชน 6,956 และอีกส่วนคือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 107,178 คน
โรงเรียนอาชีวะเอกชน (ปวส. อนุปริญญา) 61,280 คน และโรงเรียนอาชีวะของรัฐ (ปวส. อนุปริญญา) 109,380 คน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร 870 คน สถาบันพลศึกษา 3,713 และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 75 คน รวมทุกกระทรวง 875,797 คน
จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบโรงเรียนในปีการศึกษา 2552 มีจำนวนรวม 5,608,715 คน โดยแยกเป็นผู้เรียนสายสามัญศึกษา 2,072,143 คน และเรียนในสายอาชีพ 2,452,257 คน
ข้อมูลที่น่าสนใจที่สุดคือจำนวนนักเรียนเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในปีการศึกษา 2552 มีรวมทั้งสิ้น 3,183,006 คน ในจำนวนนี้มีเด็กยากจนมากสุดคือ 2,978,770 คน เด็กถูกทอดทิ้ง 88,730 คน ชนกลุ่มน้อย 42,856 คน เด็กถูกผลกระทบจากโรคเอดส์ 7,139 คน ที่เหลือได้แก่เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน เด็กอยู่ในธุรกิจทางเพศ เด็กในสถานพินิจ เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกทำร้าย เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด และ อื่นๆ
ในสถานการณ์ประชากรของไทยที่มีเด็กเกิดน้อยลงทุกที เช่น จากเกิดปีละเกิน 1 ล้านคนมาตั้งแต่เมื่อ 48 ปีก่อนและต่อเนื่องมาตลอด จนเมื่อ 13 ปีก่อนลดลงเหลือปีละ 990,000 คน และลดลงเหลือ 780,000 คน ในปี 2552 ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับตัวในด้านการจัดการการศึกษาอย่างสำคัญเมื่อคำนึงถึงจำนวนผู้เข้าเรียนที่น้อยลงทุกที
ในปีการศึกษา 2551 มีผู้สำเร็จการศึกษาอุดมศึกษา รวม 532,870 คน โดยจบต่ำกว่าปริญญาตรี (ปวส. อนุปริญญา) 143,041 คน ปริญญาตรี 311,377 คน และสูงกว่าปริญญาตรี 78,452 คน (ปริญญาเอก 1,641 คน ปริญญาโท 57,324 คน และประกาศนียบัตรบัณฑิต 19,487 คน)
สำหรับผู้เข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2552 ตัวเลขมีดังนี้ เข้าเรียนทั้งหมด 875,797 คน โดยเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 593,301 คน ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยจำกัดรับ (ทบวงเดิม) 101,916 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 178,136 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 56,608 มหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ 167,552 มหาวิทยาลัยในกำกับ 70,795 คน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 11,338 วิทยาลัยชุมชน 6,956 และอีกส่วนคือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 107,178 คน
โรงเรียนอาชีวะเอกชน (ปวส. อนุปริญญา) 61,280 คน และโรงเรียนอาชีวะของรัฐ (ปวส. อนุปริญญา) 109,380 คน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร 870 คน สถาบันพลศึกษา 3,713 และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 75 คน รวมทุกกระทรวง 875,797 คน
จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบโรงเรียนในปีการศึกษา 2552 มีจำนวนรวม 5,608,715 คน โดยแยกเป็นผู้เรียนสายสามัญศึกษา 2,072,143 คน และเรียนในสายอาชีพ 2,452,257 คน
ข้อมูลที่น่าสนใจที่สุดคือจำนวนนักเรียนเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในปีการศึกษา 2552 มีรวมทั้งสิ้น 3,183,006 คน ในจำนวนนี้มีเด็กยากจนมากสุดคือ 2,978,770 คน เด็กถูกทอดทิ้ง 88,730 คน ชนกลุ่มน้อย 42,856 คน เด็กถูกผลกระทบจากโรคเอดส์ 7,139 คน ที่เหลือได้แก่เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน เด็กอยู่ในธุรกิจทางเพศ เด็กในสถานพินิจ เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกทำร้าย เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด และ อื่นๆ
ในสถานการณ์ประชากรของไทยที่มีเด็กเกิดน้อยลงทุกที เช่น จากเกิดปีละเกิน 1 ล้านคนมาตั้งแต่เมื่อ 48 ปีก่อนและต่อเนื่องมาตลอด จนเมื่อ 13 ปีก่อนลดลงเหลือปีละ 990,000 คน และลดลงเหลือ 780,000 คน ในปี 2552 ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับตัวในด้านการจัดการการศึกษาอย่างสำคัญเมื่อคำนึงถึงจำนวนผู้เข้าเรียนที่น้อยลงทุกที
ขอบคุณผู้แนะนำ : อ.หยกแก้ว กมลวรเดช
ขอบคุณข้อมูล : มติชนออนไลน์
ขอบคุณข้อมูล : มติชนออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น